จาก
สภาพปัญหาการขาดแคลนแรงงานก่อสร้างในปัจจุบัน
ทำให้ค่าก่อสร้างถีบตัวสูงขึ้นเป็นอย่างมาก
สภาพดังกล่าวนับวันยิ่งมีปัญหาเพิ่มขึ้น
ทำให้รูปแบบของการก่อสร้างอาคารสำหรับผู้ประกอบการมีการพัฒนาขึ้น
เพื่อให้ลดการใช้แรงงานและลดเวลาการก่อสร้าง
รูปแบบการก่อสร้างเท่าที่พบในปัจจุบัน มีดังนี้
1. โครงสร้างแบบใช้โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก หรือคอนกรีตอัดแรงสำเร็จรูป
รูปแบบดังกล่าวใช้วิธีผลิตชิ้นส่วนโครงสร้างอาคาร เช่น เสา คาน และพื้น
จากโรงงานผลิต หรือจากพื้นที่ใกล้เคียงพื้นที่ก่อสร้าง
รูปแบบการก่อสร้างแบบนี้จะไม่ต่างจากรูปแบบที่ก่อสร้างในปัจจุบัน
แต่ใช้วิธีผลิตโครงสร้างหลักของอาคารมาติดตั้งที่หน้างาน
เพื่อให้สามารถลดเวลาการก่อสร้างในส่วนโครงสร้าง
ส่วนงานสถาปัตยกรรมนั้นก็ยังคงใช้วิธีการเดิม
คือใช้แรงงานในการก่อฉาบตามเดิม
ข้อดี สามารถ ลดเวลาการก่อสร้างในส่วนโครงสร้างได้ค่อนข้างมาก เนื่องจากการติดตั้งชิ้นส่วนสำเร็จรูปสามารถทำได้ค่อนข้างเร็ว เทียบกับการก่อสร้างระบบเดิม
ข้อเสีย จุด อ่อนของระบบดังกล่าวจะอยู่ที่มาตรฐานการติดตั้ง และรายละเอียดของรอยต่อของชิ้นส่วนสำเร็จรูป การทำงานต้องอาศัยการออกแบบที่ดี และผู้ทำการติดตั้งต้องมีความชำนาญ เพื่อให้รอยต่อมีความแข็งแรงตามที่ออกแบบไว้
2. โครงสร้างแบบผนังคอนกรีตเสริมเหล็กรับน้ำหนักเทกับที่
การทำงานจะใช้วิธีตั้งแบบผนัง และพื้นพร้อมกัน เสริมเหล็กแล้วเทคอนกรีตให้เป็นโครงสร้างส่วนของผนัง และพื้นไปในตัว
ข้อดี วิธี ดังกล่าวสามารถลดเวลาการก่อสร้างได้ค่อนข้างมาก เนื่องจากแทบไม่จำเป็น ต้องทำการก่อผนังอีกเลย ผนังจะเป็นโครงสร้างรับน้ำหนักไปในตัว โดยไม่จำเป็นต้องมีเสาปูดออกมาให้เห็น
ข้อเสีย เนื่อง จากผนังและพื้นทุกด้านถูกออกแบบให้เป็นโครงสร้างหลักของอาคาร ดังนั้น การปรับเปลี่ยนรูปแบบแทบจะทำไม่ได้เลย เช่น การเปิดช่องหน้าต่าง, เปลี่ยนช่องหน้าต่างเป็นประตู หรือแม้แต่การเจาะพื้นเปลี่ยนตำแหน่งบันได ไม่ควรทำเนื่องจากจะมีผลต่อความแข็งแรง
3. โครงสร้างแบบผนังคอนกรีตเสริมเหล็กรับน้ำหนักแบบหล่อสำเร็จ
ลักษณะโครงสร้างคล้ายกับแบบที่ 2 แต่รูปแบบการก่อสร้างนั้นต่างออกไป โดยโครงสร้างผนังและพื้นจะทำการหล่อสำเร็จจากโรงงาน หรือหล่อจากพื้นที่ใกล้เคียงสถานที่ก่อสร้าง แล้วนำมาประกอบเป็นอาคารที่หน้างาน
ข้อดี แน่ นอน สิ่งที่เห็นชัดที่สุดสำหรับการก่อสร้างด้วยวิธีนี้ คือระยะเวลาในการก่อสร้างจะลดลงได้ค่อนข้างมาก เมื่อเทียบกับรูปแบบการก่อสร้างแบบที่ 1 และ 2 ผู้ประกอบการ ผู้นำในตลาดสามารถใช้เวลาก่อสร้างเพียง 45 วัน/หลัง
ข้อเสีย จุด อ่อนสำหรับการก่อสร้างแบบนี้คือ การติดตั้งต้องมีมาตรฐานการทำงาน และควบคุมงานที่ดี เนื่องจากมีรอยต่อจำนวนมากในอาคาร ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาน้ำรั่ว หรืออาจจะพบรอยแตกร้าวบริเวณรอยต่อของแผ่นผนังสำเร็จ ซึ่งเมื่อเกิดปัญหาแล้วสามารถแก้ปัญหาได้ค่อนข้างยาก
4. โครงสร้างรูปแบบผสม
ลักษณะโครงสร้างอาคารแบบนี้จะใช้รูปแบบการก่อสร้าง 1, 2 และ 3 มาผสมกัน เพื่อให้การก่อสร้างมีรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น ไม่ใช่หน้าตาเหมือนกันหมด โดยโครงสร้างหลักอาจเป็นการใช้โครงสร้างแบบหล่อกับที่ ผนังบริเวณด้านหน้าบ้านซึ่งจะมีรูปแบบต่าง ๆ กัน จะใช้วิธีหล่อสำเร็จมาติดตั้ง ในส่วนที่มีปัญหาเรื่องน้ำรั่วง่าย ๆ เช่น ห้องน้ำ ก็อาจจะใช้วิธีก่ออิฐในที่ เพื่อให้ได้รูปแบบตามที่ต้องการ
ดังนั้น สำหรับท่านเจ้าของบ้านที่อาจจะหาซื้อบ้าน ควรจะศึกษา
และสอบถามกับโครงการก่อนว่าลักษณะโครงสร้างบ้านเป็นอย่างไร
มีผลต่อรูปแบบการใช้งานของท่านหรือไม่
1. โครงสร้างแบบใช้โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก หรือคอนกรีตอัดแรงสำเร็จรูป
ข้อดี สามารถ ลดเวลาการก่อสร้างในส่วนโครงสร้างได้ค่อนข้างมาก เนื่องจากการติดตั้งชิ้นส่วนสำเร็จรูปสามารถทำได้ค่อนข้างเร็ว เทียบกับการก่อสร้างระบบเดิม
ข้อเสีย จุด อ่อนของระบบดังกล่าวจะอยู่ที่มาตรฐานการติดตั้ง และรายละเอียดของรอยต่อของชิ้นส่วนสำเร็จรูป การทำงานต้องอาศัยการออกแบบที่ดี และผู้ทำการติดตั้งต้องมีความชำนาญ เพื่อให้รอยต่อมีความแข็งแรงตามที่ออกแบบไว้
2. โครงสร้างแบบผนังคอนกรีตเสริมเหล็กรับน้ำหนักเทกับที่
การทำงานจะใช้วิธีตั้งแบบผนัง และพื้นพร้อมกัน เสริมเหล็กแล้วเทคอนกรีตให้เป็นโครงสร้างส่วนของผนัง และพื้นไปในตัว
ข้อดี วิธี ดังกล่าวสามารถลดเวลาการก่อสร้างได้ค่อนข้างมาก เนื่องจากแทบไม่จำเป็น ต้องทำการก่อผนังอีกเลย ผนังจะเป็นโครงสร้างรับน้ำหนักไปในตัว โดยไม่จำเป็นต้องมีเสาปูดออกมาให้เห็น
ข้อเสีย เนื่อง จากผนังและพื้นทุกด้านถูกออกแบบให้เป็นโครงสร้างหลักของอาคาร ดังนั้น การปรับเปลี่ยนรูปแบบแทบจะทำไม่ได้เลย เช่น การเปิดช่องหน้าต่าง, เปลี่ยนช่องหน้าต่างเป็นประตู หรือแม้แต่การเจาะพื้นเปลี่ยนตำแหน่งบันได ไม่ควรทำเนื่องจากจะมีผลต่อความแข็งแรง
3. โครงสร้างแบบผนังคอนกรีตเสริมเหล็กรับน้ำหนักแบบหล่อสำเร็จ
ลักษณะโครงสร้างคล้ายกับแบบที่ 2 แต่รูปแบบการก่อสร้างนั้นต่างออกไป โดยโครงสร้างผนังและพื้นจะทำการหล่อสำเร็จจากโรงงาน หรือหล่อจากพื้นที่ใกล้เคียงสถานที่ก่อสร้าง แล้วนำมาประกอบเป็นอาคารที่หน้างาน
ข้อดี แน่ นอน สิ่งที่เห็นชัดที่สุดสำหรับการก่อสร้างด้วยวิธีนี้ คือระยะเวลาในการก่อสร้างจะลดลงได้ค่อนข้างมาก เมื่อเทียบกับรูปแบบการก่อสร้างแบบที่ 1 และ 2 ผู้ประกอบการ ผู้นำในตลาดสามารถใช้เวลาก่อสร้างเพียง 45 วัน/หลัง
ข้อเสีย จุด อ่อนสำหรับการก่อสร้างแบบนี้คือ การติดตั้งต้องมีมาตรฐานการทำงาน และควบคุมงานที่ดี เนื่องจากมีรอยต่อจำนวนมากในอาคาร ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาน้ำรั่ว หรืออาจจะพบรอยแตกร้าวบริเวณรอยต่อของแผ่นผนังสำเร็จ ซึ่งเมื่อเกิดปัญหาแล้วสามารถแก้ปัญหาได้ค่อนข้างยาก
4. โครงสร้างรูปแบบผสม
ลักษณะโครงสร้างอาคารแบบนี้จะใช้รูปแบบการก่อสร้าง 1, 2 และ 3 มาผสมกัน เพื่อให้การก่อสร้างมีรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น ไม่ใช่หน้าตาเหมือนกันหมด โดยโครงสร้างหลักอาจเป็นการใช้โครงสร้างแบบหล่อกับที่ ผนังบริเวณด้านหน้าบ้านซึ่งจะมีรูปแบบต่าง ๆ กัน จะใช้วิธีหล่อสำเร็จมาติดตั้ง ในส่วนที่มีปัญหาเรื่องน้ำรั่วง่าย ๆ เช่น ห้องน้ำ ก็อาจจะใช้วิธีก่ออิฐในที่ เพื่อให้ได้รูปแบบตามที่ต้องการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น